15 ก.พ. 2555

การเลือกติดตั้งจานดาวเทียมแบบ Ku-band (จานส้ม)

การเลือกติดตั้งจานดาวเทียมแบบต่างๆ (ตอน4)




จานส้ม  คือจานรับสัญญาณระบบ Ku-Band ซึ่งผลิต และจำหน่ายโดยบริษัท บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด

จานส้มออกมาในตอนแรก จะเน้นช่องรายการแบบ ทำเองเป็นหลัก โดยมีช่องหนัง ช่องกีฬา ช่องการ์ตูนเป็นหัวหอกในตอนแรก โดยช่วงแรกก็จะขายเครื่องที่แพงกว่าจานสีอื่นๆ แต่จะมีช่องพิเศษออกมาให้ชมกันเพิ่มมากขึ้น และที่ช่วงแรกๆ ขายได้ดียิ่งขึ้นอีกเนื่องจาก จานส้มนั้นรับสัญญาณจากดาวเทียม NSS6 ซึ่งดาวเทียมดวงนี้ส่งรายการของทาง ผู้จัดการ ASTV ด้วย ทำให้ถูกใจผูืั้ชื่นชอบ ASTV นั่นเอง

แต่จากการที่จานส้มรับสัญญาณจากดาวเทียม NSS6 นั้น ทำให้ไม่สามารถรับชมรายการดาวเทียมเพื่อการศึกษาของดาวเทียม ไทคมได้ รวมทั้งช่อง Ku-Band อื่นๆของดาวเทียมไทคม ซึ่งถ้าผู้ที่จำเป็นต้องรับชมช่องการศึกษา อาจจะมีปัญหาได้ แต่จะได้ช่งจากทาง ASTV เพิ่มมาอีกประมาณ6ช่อง

จานส้ม  IPM จะมีชุดจานมาตรฐานคือ จานแบบทึบ พ่นสีส้ม ขนาด60 เซนติเมตร (60 Cm) แต่จะมีเครื่องรับสัญญาณให้เลือกอยู่ 3แบบ ซึ่งก็จะมีราคาต่างกันตามเครื่องที่ท่านเลือก จากการทดสอบดูเครื่องทั้ง3แบบ ภาพและเสียงที่ได้ก็ไม่ต่างกันมากนัก ที่ต่างกํนคงเป็นในส่วนวัสดุที่ใช้ทำเครื่องรับสัญญาณเท่านั้นเอง

ในปัจจุบันการติดตั้งจานส้ม นั้นจะมีช่องต่างๆให้ชมประมาณ 80 ช่อง โดยทาง IPM จะทำช่องเองส่วนหนึ่ง และจะเป็นรายการจากฟรีทีวี ช่อง3 ช่อง5 ช่อง7 ช่อง9 ของทางดาวเทียมไทคมด้วยส่วนหนึ่ง และไม่มีการเก็บรายเดือน

ซึ่งจานดาวเทียม IPM นี้ น่าจะเหมาะกับผู้ชมที่ต้องการรับชม หนัง หรือความบันเทิง อื่นๆ มากกว่าเพราะว่ามีช่องเพิ่มมาอีกหลายช่อง โดยที่ไม่ต้องเสียรายเดือน

เพิ่มเติม

ท่านที่ติดจานส้ม แต่ต้องการรับชมช่องการศึกษาจากดาวเทียมไทคม สามารถทำได้โดยการติดตั้งหัวรับสัญญาณแบบ Ku-Band เพิ่มอีก1หัว และปรับให้ไปรับสัญญาณจากดาวเทียมไทคมได้  โดยจะต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติม

5 ก.พ. 2555

การเลือกติดตั้งจานดาวเทียมแบบ Ku-band (จานเหลือง)

การเลือกติดตั้งจานดาวเทียมแบบต่างๆ (ตอน3)





จานเหลือง  คือจานรับสัญญาณระบบ Ku-Band ซึ่งผลิต และจำหน่ายโดยบริษัท ดีทีวี เซอร์วิส

จานเหลือง เป็นจานดาวเทียมแบบ Ku-Band ที่ทำให้เป็นการสะเทือนวงการจานขนาดเล็กอย่างแท้จริง
เนื่องจากทำตลาดโดยมาเจาะด้านราคาโดยเฉพาะ ทำให้การติดตั้งจานดาวเทียมที่แต่ก่อนผู้ที่จะมีจานดาวเทียมต้องเป็นผู้ที่มีฐานะพอสมควร กลายเป็นประชาชนธรรมดา ตาสีตาสา ไหนๆก็ติดได้ ด้วยราคาที่ถูกมาก
บางพื้นที่ติดเสาอากาศยังแพงกว่าติดตั้งจานเหลือง DTV นี้อีก ด้วยซํ้า

จานมาในขนาด 60 เซนติเมตร (60 Cm) พ่นสีเหลือง ที่แปลก คือ กล่องรับสัญญาณ เป็นกล่องพลาสติกสีขาว ไม่เหมือนกล่องรับสัญญาณดาวเทียม ทั่วๆไปที่เคยเห็นกันทั่วๆไป ช่องรายการที่รับได้โดย ปกติของจานเหลืองคือ ช่องทีวีไทยแบบฟรีทีวี ทั้ง ช่อง3 ช่อง5 ช่อง 7 ช่อง9  NBT TPBS TGN และโทรทัศน์เพื่อการศึกษา อีกประมาณ20ช่อง และยังรับช่อง หนัง เพลง การ์ตูน กีฬา สารคดี ที่เป็นช่องของไทยได้อีก  ประมาณ20ช่อง รวมๆ แล้วก็ชมได้ฟรีประมาณ 50ช่อง และยังมีแนวโน้มจะมีช่องเพิ่มขึ้นมาอีก เนื่องจากมีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก ทำให้มีเจ้าของกิจการ หันมาทำโฆษณา กันในช่องจานดาวเทียมกันเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากราคา ในการโฆษณา ถูกกว่าช่องหลักอย่างมากนั่นเอง

นอกจากช่องแบบฟรีแล้ว ทางบริษัท ดีทีวี จานเหลือง ก็ทำรายการหนัง และบันเทิงออกมาให้เลือกชมกันอีกหลายๆ แพ็คเกจ โดยทางผู้ที่มีจานเหลือง สามารถซื้อแพ้คเกจ ต่างๆ จากร้านจานดาวเทียม แล้วนำรหัสที่ได้แจ้งไปที่บริษัท ทางบริษัทก็จะเปิดสัญญาณตามแพ็คเกจ ที่ท่านซื้อมาให้ได้รับชมกัน

สำหรับตัวกล่องรับสัญญาณ (Reciver) ที่ตอนแรกออกมาเป็นแบบกล่องพลาสติกสีขาว ในช่วงหลังๆ ทาง DTV ก็ได้นำกล่องแบบ ที่เป็นกล่องเหมือน เครื่องรับๆทั่วๆไปออกมาให้เลือกเพิ่ม ทั้งระบบต่างๆก็จัดว่าดี ภาพสวย เสียงดี ได้มาตรฐาน

สำหรับผู้ที่ต้องการรับชมทีวีพื้นฐานปกติ ดูหนังฟังเพลง ดูการ์ตูน บ้าง และ ไม่ต้องเสียรายเดือน
จานเหลือง DTV น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี อีกตัวในการเลือก

4 ก.พ. 2555

การเลือกติดตั้งจานดาวเทียมแบบ Ku-band (จานฟ้า)

การเลือกติดตั้งจานดาวเทียมแบบต่างๆ (ตอน3)




จานฟ้า คือจานรับสัญญาณระบบ Ku-Band ซึ่งผลิต และจำหน่ายโดยบริษัท สามารถ
ช่วงแรกที่ทางสามารถออกจานฟ้ามา ทำตลาดในส่วนของการดูฟรี เป็นจุดขายหลัก เพราะช่วงแรกจานขนาดเล็ก มีเพียงเจ้าเดียวที่ทำอยู่คือ UBC ทำให้ได้รับการตอบรับจากผู้ชมได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากราคาจะใกล้เคียงกับจาน UBC แบบซื้อขาด และทางสามารถเองก็ได้ผลิตช่องเพิ่มขึ้นมา เพื่อส่งให้กับจานฟ้าของตนเอง คือ ช่องข่าว ช่องหนัง ช่องกีฬา และช่องอื่นๆอีกประมาณ10ช่อง ทำให้ผู้ที่ไม่อยากเสียเงินค่าสมาชิกรายเดือนเลือกที่จะติดตั้งกันมาก

แต่ในช่วงหลัง การแข่งขันรุนแรงกันมากขึ้น โดยเฉพาะมีจานเหลืองเกิดมา พร้อมกับเน้นจุดขายไปที่ราคาถูก ทำให้ทางจานฟ้า จึงต้องปรับตัวอย่างมาก เพราะว่าถ้าไม่ปรับปรุงจะขายยากมาก เพราะราคาต่างกับคู่แข่งอย่างมาก จึงได้ทำการปรับในส่วนของตัวเครื่องรับสัญญาณ (Reciver)เป็นรุ่น ตัวถังพลาสติก จากเดิมที่ตัวถังเป็นเหล็ก ตัวจานก็ออกมา ขนาดเล็กลงกว่าแต่ก่อน จาก 75 Cm เหลือ 60 Cm เปลี่ยนชื่อมาเป็นรุ่น Compact และจากการที่ต้องทำราคาลงมามาก ข่องสัญญาณที่เคยทำข่องหนัง ช่องกีฬา การ์ตูนต่างๆ ก็มีอันต้องตัดงบประมาณไปด้วย

จนปัจุบันการดูจานสามารถ จานฟ้า ก็แทบจะเหมือนกับการดูจานเหลือง ทุกประการ แต่อาจจะดูดีขึ้นหน่อยตรงความที่อุปกรณ์ต่างๆของชุดจาน ดูดีกว่าทั้งหน้าจาน และ เครื่องรับสัญญาณ ต่างๆ แต่ก็ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยเพื่อแลกกับสิ่งที่ได้มา