15 ก.พ. 2555

การเลือกติดตั้งจานดาวเทียมแบบ Ku-band (จานส้ม)

การเลือกติดตั้งจานดาวเทียมแบบต่างๆ (ตอน4)




จานส้ม  คือจานรับสัญญาณระบบ Ku-Band ซึ่งผลิต และจำหน่ายโดยบริษัท บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด

จานส้มออกมาในตอนแรก จะเน้นช่องรายการแบบ ทำเองเป็นหลัก โดยมีช่องหนัง ช่องกีฬา ช่องการ์ตูนเป็นหัวหอกในตอนแรก โดยช่วงแรกก็จะขายเครื่องที่แพงกว่าจานสีอื่นๆ แต่จะมีช่องพิเศษออกมาให้ชมกันเพิ่มมากขึ้น และที่ช่วงแรกๆ ขายได้ดียิ่งขึ้นอีกเนื่องจาก จานส้มนั้นรับสัญญาณจากดาวเทียม NSS6 ซึ่งดาวเทียมดวงนี้ส่งรายการของทาง ผู้จัดการ ASTV ด้วย ทำให้ถูกใจผูืั้ชื่นชอบ ASTV นั่นเอง

แต่จากการที่จานส้มรับสัญญาณจากดาวเทียม NSS6 นั้น ทำให้ไม่สามารถรับชมรายการดาวเทียมเพื่อการศึกษาของดาวเทียม ไทคมได้ รวมทั้งช่อง Ku-Band อื่นๆของดาวเทียมไทคม ซึ่งถ้าผู้ที่จำเป็นต้องรับชมช่องการศึกษา อาจจะมีปัญหาได้ แต่จะได้ช่งจากทาง ASTV เพิ่มมาอีกประมาณ6ช่อง

จานส้ม  IPM จะมีชุดจานมาตรฐานคือ จานแบบทึบ พ่นสีส้ม ขนาด60 เซนติเมตร (60 Cm) แต่จะมีเครื่องรับสัญญาณให้เลือกอยู่ 3แบบ ซึ่งก็จะมีราคาต่างกันตามเครื่องที่ท่านเลือก จากการทดสอบดูเครื่องทั้ง3แบบ ภาพและเสียงที่ได้ก็ไม่ต่างกันมากนัก ที่ต่างกํนคงเป็นในส่วนวัสดุที่ใช้ทำเครื่องรับสัญญาณเท่านั้นเอง

ในปัจจุบันการติดตั้งจานส้ม นั้นจะมีช่องต่างๆให้ชมประมาณ 80 ช่อง โดยทาง IPM จะทำช่องเองส่วนหนึ่ง และจะเป็นรายการจากฟรีทีวี ช่อง3 ช่อง5 ช่อง7 ช่อง9 ของทางดาวเทียมไทคมด้วยส่วนหนึ่ง และไม่มีการเก็บรายเดือน

ซึ่งจานดาวเทียม IPM นี้ น่าจะเหมาะกับผู้ชมที่ต้องการรับชม หนัง หรือความบันเทิง อื่นๆ มากกว่าเพราะว่ามีช่องเพิ่มมาอีกหลายช่อง โดยที่ไม่ต้องเสียรายเดือน

เพิ่มเติม

ท่านที่ติดจานส้ม แต่ต้องการรับชมช่องการศึกษาจากดาวเทียมไทคม สามารถทำได้โดยการติดตั้งหัวรับสัญญาณแบบ Ku-Band เพิ่มอีก1หัว และปรับให้ไปรับสัญญาณจากดาวเทียมไทคมได้  โดยจะต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติม

5 ก.พ. 2555

การเลือกติดตั้งจานดาวเทียมแบบ Ku-band (จานเหลือง)

การเลือกติดตั้งจานดาวเทียมแบบต่างๆ (ตอน3)





จานเหลือง  คือจานรับสัญญาณระบบ Ku-Band ซึ่งผลิต และจำหน่ายโดยบริษัท ดีทีวี เซอร์วิส

จานเหลือง เป็นจานดาวเทียมแบบ Ku-Band ที่ทำให้เป็นการสะเทือนวงการจานขนาดเล็กอย่างแท้จริง
เนื่องจากทำตลาดโดยมาเจาะด้านราคาโดยเฉพาะ ทำให้การติดตั้งจานดาวเทียมที่แต่ก่อนผู้ที่จะมีจานดาวเทียมต้องเป็นผู้ที่มีฐานะพอสมควร กลายเป็นประชาชนธรรมดา ตาสีตาสา ไหนๆก็ติดได้ ด้วยราคาที่ถูกมาก
บางพื้นที่ติดเสาอากาศยังแพงกว่าติดตั้งจานเหลือง DTV นี้อีก ด้วยซํ้า

จานมาในขนาด 60 เซนติเมตร (60 Cm) พ่นสีเหลือง ที่แปลก คือ กล่องรับสัญญาณ เป็นกล่องพลาสติกสีขาว ไม่เหมือนกล่องรับสัญญาณดาวเทียม ทั่วๆไปที่เคยเห็นกันทั่วๆไป ช่องรายการที่รับได้โดย ปกติของจานเหลืองคือ ช่องทีวีไทยแบบฟรีทีวี ทั้ง ช่อง3 ช่อง5 ช่อง 7 ช่อง9  NBT TPBS TGN และโทรทัศน์เพื่อการศึกษา อีกประมาณ20ช่อง และยังรับช่อง หนัง เพลง การ์ตูน กีฬา สารคดี ที่เป็นช่องของไทยได้อีก  ประมาณ20ช่อง รวมๆ แล้วก็ชมได้ฟรีประมาณ 50ช่อง และยังมีแนวโน้มจะมีช่องเพิ่มขึ้นมาอีก เนื่องจากมีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก ทำให้มีเจ้าของกิจการ หันมาทำโฆษณา กันในช่องจานดาวเทียมกันเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากราคา ในการโฆษณา ถูกกว่าช่องหลักอย่างมากนั่นเอง

นอกจากช่องแบบฟรีแล้ว ทางบริษัท ดีทีวี จานเหลือง ก็ทำรายการหนัง และบันเทิงออกมาให้เลือกชมกันอีกหลายๆ แพ็คเกจ โดยทางผู้ที่มีจานเหลือง สามารถซื้อแพ้คเกจ ต่างๆ จากร้านจานดาวเทียม แล้วนำรหัสที่ได้แจ้งไปที่บริษัท ทางบริษัทก็จะเปิดสัญญาณตามแพ็คเกจ ที่ท่านซื้อมาให้ได้รับชมกัน

สำหรับตัวกล่องรับสัญญาณ (Reciver) ที่ตอนแรกออกมาเป็นแบบกล่องพลาสติกสีขาว ในช่วงหลังๆ ทาง DTV ก็ได้นำกล่องแบบ ที่เป็นกล่องเหมือน เครื่องรับๆทั่วๆไปออกมาให้เลือกเพิ่ม ทั้งระบบต่างๆก็จัดว่าดี ภาพสวย เสียงดี ได้มาตรฐาน

สำหรับผู้ที่ต้องการรับชมทีวีพื้นฐานปกติ ดูหนังฟังเพลง ดูการ์ตูน บ้าง และ ไม่ต้องเสียรายเดือน
จานเหลือง DTV น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี อีกตัวในการเลือก

4 ก.พ. 2555

การเลือกติดตั้งจานดาวเทียมแบบ Ku-band (จานฟ้า)

การเลือกติดตั้งจานดาวเทียมแบบต่างๆ (ตอน3)




จานฟ้า คือจานรับสัญญาณระบบ Ku-Band ซึ่งผลิต และจำหน่ายโดยบริษัท สามารถ
ช่วงแรกที่ทางสามารถออกจานฟ้ามา ทำตลาดในส่วนของการดูฟรี เป็นจุดขายหลัก เพราะช่วงแรกจานขนาดเล็ก มีเพียงเจ้าเดียวที่ทำอยู่คือ UBC ทำให้ได้รับการตอบรับจากผู้ชมได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากราคาจะใกล้เคียงกับจาน UBC แบบซื้อขาด และทางสามารถเองก็ได้ผลิตช่องเพิ่มขึ้นมา เพื่อส่งให้กับจานฟ้าของตนเอง คือ ช่องข่าว ช่องหนัง ช่องกีฬา และช่องอื่นๆอีกประมาณ10ช่อง ทำให้ผู้ที่ไม่อยากเสียเงินค่าสมาชิกรายเดือนเลือกที่จะติดตั้งกันมาก

แต่ในช่วงหลัง การแข่งขันรุนแรงกันมากขึ้น โดยเฉพาะมีจานเหลืองเกิดมา พร้อมกับเน้นจุดขายไปที่ราคาถูก ทำให้ทางจานฟ้า จึงต้องปรับตัวอย่างมาก เพราะว่าถ้าไม่ปรับปรุงจะขายยากมาก เพราะราคาต่างกับคู่แข่งอย่างมาก จึงได้ทำการปรับในส่วนของตัวเครื่องรับสัญญาณ (Reciver)เป็นรุ่น ตัวถังพลาสติก จากเดิมที่ตัวถังเป็นเหล็ก ตัวจานก็ออกมา ขนาดเล็กลงกว่าแต่ก่อน จาก 75 Cm เหลือ 60 Cm เปลี่ยนชื่อมาเป็นรุ่น Compact และจากการที่ต้องทำราคาลงมามาก ข่องสัญญาณที่เคยทำข่องหนัง ช่องกีฬา การ์ตูนต่างๆ ก็มีอันต้องตัดงบประมาณไปด้วย

จนปัจุบันการดูจานสามารถ จานฟ้า ก็แทบจะเหมือนกับการดูจานเหลือง ทุกประการ แต่อาจจะดูดีขึ้นหน่อยตรงความที่อุปกรณ์ต่างๆของชุดจาน ดูดีกว่าทั้งหน้าจาน และ เครื่องรับสัญญาณ ต่างๆ แต่ก็ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยเพื่อแลกกับสิ่งที่ได้มา

29 ม.ค. 2555

การเลือกติดตั้งจานดาวเทียมแบบ Ku-band (จานแดง)

การเลือกติดตั้งจานดาวเทียมแบบต่างๆ (ตอน2)

ตอนนี้ก็มาถึง จานแบบ Ku-Band กันบ้าง ว่าจานแบบไหน สีอะไรดู อะไรได้กันบ้าง โดยปกติแล้วจานในระบบ Ku-Band ส่วนใหญ่จะเอามาใช้รับชมช่องโทรทัศน์ในประเทศเป็นหลักอยู่แล้ว ดังนั้นผู้ที่จำหน่ายจานแต่ละสี ก็จะต้องส่งสัญญาณข่องฟรีทีวี ช่อง3 ช่อง5 ช่อง7 ช่อง9 และช่องหลักอื่นๆมาให้ดูได้อยู่แล้วในจานทุกๆสี ดังนั้นถ้าจะรับชมเพียงแค่โทรทัศน์แบบฟรีทีวี เลือกจานแบบ Ku-band สีไหนก้ได้ และนอกจากรายการทีวีแบบฟรีทีวีแล้ว จานแบบ Ku-Band จะมีช่องหลักที่ให้รับชมได้ฟรีเพิ่มมาอีกคือช่องการศึกษาจาก วังไกลกังวน 15ช่อง ซึ่งช่องโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ได้เกิดมาจากการที่ทางดาวเทียมไทคม จัดส่งสัญญาณให้เพื่อตอบแทนจากการได้รัปสัมประทาน การได้สิทธในการทำกิจการดาวเทียมของประเทศไทย และจะมีช่อง Money Channel TGN เป็นต้น




จานแดง (True Visions) เหมาะกับใคร

จานแดงปกติก็มีหลากหลายแพ็คเกจ ตามแต่ท่านจะเลือกใช้ แต่จุดเด่นของจานนี้คือมีช่องถ่ายทอดกีฬาสดโดยเฉพาะฟุตบอล กอลฟ์ เทนนิส ให้ชมกันจุใจ และยังมีช่องหนังดัง HBO Star Movie ให้ชมกันได้ตลอด สารคดีต่างๆครบทุกความต้องการ แต่รายการที่แจ้งไปไม่ได้ชมฟรี ถ้าจะให้ดูกีฬาต่างๆได้ ขั้นตํ่าก็ต้องใช้ แพ็คเกจ Gold จะมีค่ารายเดือน ประมาณ1500 บาท และปัจุบันยังมีการส่งระบบ HD ทำให้รับภาพได้ชัดมาก ถ้าใช้จอภาพโทรทัศน์ขนาดใหญ่ จะเห็นความแตกต่างว่าชัดกว่าระบบสัญญาณแบบธรรมดา

จานแดงมี 3 แบบคือ

1.จานให้ยืมจาก True Visions โดยตรง  คือจานที่เราไม่ต้องซื้อแค่ไปติดต่อที่ศูนย์บริการ และสมัครสมาชิก ทางศูนย์ก็จะมาติดตั้งให้ และจ่ายค่าบริการเป็นรายเดือน สำหรับการรับชม แต่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายจานไปไหนได้ เนื่องจากไม่ได้เป็นเจ้าของจาน

2.จานซื้อขาด คือจานที่เราต้องการเป็นเจ้าของชุดจานเอง ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายจานไปดูที่ไหนก็ได้
เนื่องจากเราเป็นเจ้าของ และถ้าเราไม่ต้องการดูรายการแบบเสียเงินรายเดือน เราก็สามารถเอาไว้รับชมช่องฟรีที่วีต่างๆ ของสัญญาณดาวเทียมจากการส่งของ True Vision ได้

3.แบบให้ยืมจากการใช้โทรศัพท์ ค่าย True Move จานแบบนี้จะมีโปรโมชั่น มาจากการที่ได้ใฃ้โทรศัพท์ในระบบ True Move โดยทุกเดือนจะต้องเติมเงินเข้าระบบ ตามข้อตกลงกับ True Move ปกติจะเติมประมาณ 300 บาทต่อเดือน รายการที่ัรับชมได้จะเป็นแบบช่องฟรี แต่ถ้าจะรับชมช่องถ่ายทอก กีฬาต่างๆ หรือหนัง ก็สามารถเติมเงินเข้าไปในระบบเพื่อรับชมเพิ่มได้ จานแบบนี้ก็ห้ามเคลื่อนย้ายจานเหมือนกัน

28 ม.ค. 2555

การเลือกติดตั้งจานดาวเทียมแบบ C-Band (จานดำ)

การเลือกติดตั้งจานดาวเทียมแบบต่างๆ

จากบทความครั้งก่อนคงพอทำให้ทราบได้ว่า จานดาวเทียม จริงๆก็มีแค่2แบบ ไว้รับสัญญาณ C-Band กับ Ku-band เท่านั้นเอง แต่ว่าเนื่องจากมีผุ้ผลิตหลายๆเจ้า ก็เลยใส่เป็นสีตามของแต่ละผุ้ผลิตเข้าไป เพื่อเห็นความแตกต่าง



จาน C-band (จานดำ)  แบบFix เหมาะกับใคร

จานลักษณะนี้ ถ้าเอามารับสัญญาณดาวเทียมไทคม จะเหมาะกับ ผู้ที่ต้องการรับชมทีวีไทย ช่องฟรี เช่น ช่อง3 ช่อง5 ช่อง7 ช่อง9 ช่อง11 TPBS เป็นต้น และยังมีช่องหนังช่องเพลง ให้รับชมกันแบบฟรีๆ ไม่มีรายเดือน กันอีกมากมาย การ์ตูนฟรีก็ยังมี รายการภาษไทย มีไม่ตํ่ากว่า50ช่อง แล้วในช่วงที่เขียนบทความนี้
จุดเด่นก็คือทุกรายการที่รับได้ไม่เสียเงิน แต่ว่ารายการที่ส่งมาก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะอยู่ยืนยาวซักแค่ไหน  เนื่องจากเป็นของฟรีก็เลยไม่มีหลักประกันใดๆให้สำหรับช่องที่รับชมได้ และวันดีคืนดี การถ่ายทอดกีฬาแบบสดๆ ก็อาจจะมีการล็อกสัญญาณบ้าง เนื่องจากปัญหาลิขสิทธิ์
และนอกจากช่องไทยที่รับได้แล้ว ไทยคมเองก็มีการส่งสัญญาณ ของประเทศอื่นๆมาด้วย เช่นช่องแขก ช่องจีน เป็นต้น ถ้าผุ้ที่รับชมเป็นชาวต่างประเทศ ก็สามารถใช้จานในแบบนี้ไปรับสัญญาณช่องของประเทศตัวเองมารับชมได้ ทำให้ได้รับข่าวสาร ความบันเทิงต่างๆเหมือนอยู่ที่ประเทศตัวเอง

จาน C-band (จานดำ) แบบMove เหมาะกับใคร

จานลักษณะนี้ มีความสามารถที่จะรับสัญญาณดาาวเทียม จากบนท้องฟ้าของประเทศไทยได้ทุกดวง
ช่องไทย แบบฟรีต่างๆ ก็จะรับได้ เหมือนจานแบบ Fix แต่ถ้ามีการส่งช่องไทย จากดาวเทียมอื่นๆ จานแบบ Fix ก็จะรับชมไม่ได้ แต่จานแบบ Move จะรับชมช่องเหล่านั้นได้ เช่น ช่องของทางผู้จักการ เคยส่งสัญญาณ ที่ดาวเทียม Nss6  โดยผู้รับต้องติดตั้งหัวรับสัญญาณแบบ Ku-Band เพิ่มเข้าไป เป็นต้น
และถ้าผู้ที่สนใจช่องจากดาวเทียม ชอบทดลองรับสัญญาณของดาวเทียมช่องประเทศต่างๆ ก็จะสามารถหา ช่องการถ่ายทอดสด หนังหรือเพลงต่างๆ ได้ชมตลอดแม่จะไม่มีการส่งสัญญาณช่องดังกล่าว ดาวเทียมไทคมก็ตาม

เพิ่มเติม

จานดำแบบMove ถ้าเรานำมาใส่หัวรับสัญญาณแบบ Ku-band เข้าไปก็จะนำมาให้สามารถรับสัญญาณแบบ Ku-Band ได้ด้วย แต่จะรับชมได้สำหรับช่องที่ไม่เข้ารหัสสัญญาณ เช่นช่องการศึกษา แต่ไม่สามารถรับชมช่องฟรีทีวีแบบ ช่อง3 ช่อง5 ช่อง7 ได้เนื่องจากมีการเข้ารหัสสัญญาณไว้
และข้อดีอีกอย่างคือเนื่องจากหน้าจานมีขนาดใหญ่ จึงสามารถรับสัญญาณได้ในขณะฝนตก หรือท้องฟ้ามีเมฆมาก ได้ดีกว่าจานแบบหน้าเล็ก

23 ม.ค. 2555

จานรับสัญญาณดาวเทียมแบบ Ku-Band (จานเล็ก)



จานรับสัญญาณดาวเทียมแบบ Ku-Band (จานเล็ก)

จานแบบนี้จะมีขนาดเล็ก ประมาณ 75 เซนติเมตร จนเล็กถึง 30 เซนติเมตร ก็เคยมีออกมาขายกัน หน้าจานจะทำจากอลูมิเนียม พ่นสี  จานแบบนี้จะออกแบบมารับคลื่นสัญญาณแบบ Ku-band (ความถี่ 10-12 Ghz)

สัญญาณในแบบ Ku-Band จะมีความถี่ที่สูงมาก ดังนั้นการส่งสัญญาณจากดาวเทียม ลงมายังพื้นโลกจะไม่กว้างมากเหมือนแบบ C-band การส่งสัญญาณ จะทำการส่งใหคลุมประเทศไทย ให้ครบในทุกส่วนแต่ก็มีบ้างที่อาจจะออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านบางส่วน สัญญาณKu-Band เป็นสัญญาณที่มีความถี่สูง จึงทำให้เวลาที่เรารับสัญญาณไม่ต้องใช้หน้าจาน ขนาดใหญ่มากเหมือนระบบ C-Band  จุดที่ดาวเทียมส่งสัญญาณ Ku-Band มาเข้มมากๆ จะสามารถใช้จานที่มีขนาดเล็กลงมาได้ มีบางคนเคยเอากระทะทอดไข่มารับสัญญาณกันได้เลยทีเดียว

จาน Ku-Band แบบนี้ช่วงแรกจะมีอยู่สีเดียวคือสีเทา ซึ่งในช่วงแรกจะเป็นจานของระบบทีวี บอกรับสมาชิก (UBC) และอีกแบบคือจานแบบขายขาด ของ บริษัทสามารถ ซึ่งก็ต้องมี สมาร์ทการ์ดของ UBC ใช้ประกอป ด้วยจึงจะสามารถรับรายการโทรทัศนืแบบฟรีทีวีได้ เนื่องจากจานชุดนี้ต้องรับสัญญาณจากการส่งของทาง UBC


จนมาช่วงปี 2007 การแข่งขันของจานแบบจานเล็กก็เริ่มขึ้น จากการที่บริษัท สามารถ ได้ออกจานฟ้า ออกมาโดยเลิกใช้สัญญาณ ของUBC แล้วผลิกรายการเอง ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเอง จุดขายช่วงนั้นคือ ดูฟรีไม่มีรายเดือน มีหนัง มีกีฬาสด ให้ดูฟรี แต่ในอนาคตยังไม่แน่นอนว่าจะฟรีหรือไม่ ซึ่งช่วงนั้นใครที่จะติดจานก็เลือกแค่ 2แบบนี้เอง จานเทา UBC หรือจานฟ้า สามารถ

จนผ่านมาอีกระยะ การติดตั้งจานดาวเทียมได้รับความนิยมอย่างมาก ก็ทำให้มีผู้ประกอบการที่อยากลงมา ทำตลาดจานดาวเทียมเพิ่มขึ้น โดยลงมาเป็นจานส้ม ผลิตรายการ ของตัวเองขึ้นมา แล้วส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม Nss6 มาสู่ตลาดอีกเจ้า แล้วก็มาถึงจานเหลืองจานที่เน้นจุดขายเรื่องราคาถูกเป็นจุดนำ ในราคาที่คู่แข่งต้องเกาหัวแล้วต้องกลับไปปรับกลยุทธกันใหม่อีกครั้ง

แล้วก็มาถึงจานแดง จานที่เกิดจากการต้องการเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้โดดเด่นจากการเปลี่ยน บริษัทผู้ที่เคยเป็นทีวีบอกรับสมาชิก เจ้าใหญ่ UBC มาเป็น True Vision การเข้ามาของจานแดง เป็นการสะเทือนวงการจานดาวเทียมอย่างมาก เนื่องจากเข้ามาแบบแจกฟรี เพียงขอให้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ True Move จากวันนั้นจานเทา ก็ได้หายไปเรื่อยๆ เป้นจานแดงแทน

แล้วเจ้าล่าสุด ก็คือ Psi บริษัทที่บุกเบิกจานดำ C-band ก็เอาจานเล็กแบบ Ku-band สีดำลงมาอีกเจ้าโดยทำรายการเอง ส่งเอง พร้อมกับคำขวัญ ยอดฮิต ดูฟรีตลอดชาติ มาให้ได้เลือกกันอีกเจ้า


ที่นี้ก็น่าพอจะทราบที่มาของจานแต่ละสีกันบ้างแล้ว ว่าทำไมมันหลากสีกันเหลือเกิน


ข้อดีข้อด้อยของ จานเล็ก Ku-band

ข้อดี

-ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย
-ขนาดเล็กติดตั้งแล้วดูสวยงาม
-ติดตั้งง่าย ไม่ต้องมีความรู้มาก ก้พอที่จะติดตั้งได้
-สามารถนำไปดูที่ไหนก็ได้ เนื่องจากจานมีขนาดเล็ก ทำให้ไม่พลาดรายการที่ติดตามชม

ข้อด้อย

-ฝนตก เมฆหนา ดูไม่ได้ เตรียมปิดเครื่องอย่างเดียว
-ถ้าตัดสินใจใช้เครื่องของ ค่ายไหนแล้ว ต้องดุรายการของค่ายนั้น เปลี่ยนค่ายก้ต้องเปลี่ยนเครื่องรับ
-มีปัญหาจุกจิก กับการที่มีการล็อกสัญญาณ เป็นบางครั้ง ถ้าดุช่วงดึกๆ คืนนั้นอาจต้องนอน

22 ม.ค. 2555

จานรับสัญญาณดาวเทียมแบบ C-Band (จานดำ)





จานรับสัญญาณดาวเทียมแบบ C-Band  (จานดำ)

จานรับสัญญาณดาวเทียมที่เรามักเรียกกันว่าจานดำ จริงๆแล้วก็มีออกมาหลายๆ สีเหมือนกันเช่น สีดำ เทา ขาว นํ้าเงิน แม้แต่ สีชมพู  สีเขียว ก็มีออกมาแล้วเหมือนกัน

จานดำ เป็นจานที่ออกแบบมาเพื่อรับสัญญาณในย่านความถี่ C-Band (ความถี่ 3.4-4.2 Ghz) สัญญาณในย่านนี้จะเป็นสัญญาณที่ออกแบบมาสำหรับการส่งคลื่นที่ให้ดาวเทียมกระจายสัญญาณได้พื้นที่ กว้างๆ
โดยพื้นที่ๆกระจายสัญญานออกไป (Footprint) จะสามารถส่งได้ กว้างเป็นพืนที่หลายๆประเทศ ได้เลยเช่น
ส่งสัญญาณมาที่ไทย ลาว พม่า จีนบางส่วน ไปจนถึงอินเดีย สัญญานแบบนี้จะมีความถี่ตํ๋า จึงทำให้ต้องใช้ตัวหน้าจานที่กว้างเพื่อจะได้ มีพื้นที่สะท้อนสัญญานเข้าไปสู่หัวรับสัญญาณ เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้แปลงสัญญาณเพื่อเข้าสู่กระบวนการต่อไป ในการรับชม

จานดำจะมี  2แบบ คือ




1.จานแบบอยู่กับที่ (จาน Fix)
จานแบบนี้ออกแบบมาสำหรับการรับชมโทรทัศน์
แบบดูดาวเทียมเพียงดวงเดียว ไม่สามารถย้ายไปรับสัญญาณดาวเทียมดวงอื่นๆได้
จานแบบFix ให้สังเกตุที่คอจานด้านหลัง จะเป็นน้อตเกลียวยาวๆ แล้ว ใช้ประแจอัดให้แน่นเพื่อกันหน้าจานเคลื่อนที่















2.จานแบบเคลื่นหน้าจานได้ (จานMove)
จานแบบนี้ออกแบบมาให้ ผู้รับชมสามารถย้ายหน้าจานไปรับสัญญาณดาวเทียมจากดาวเทียมดวงอื่นๆได้
จานแบบMove ให้สังเกตุที่คอจานจะมีมอเตอร์ขับหน้าจานเพื่อให้หน้าจานเคลืื่อนที่ไปมาได้












จานรับสัญญาณในระบบ C-Band มีข้อดี ข้อด้อยดังนี้


ข้อดี
-สามารถรับชมในสภาพอากาศปิดได้ เช่นฝนตก เมฆมาก ท้องฟ้ามืด
-ตัวเครื่องรับสัญญาณมีราคาถูก และมีรุ่นให้เลือกใช้ได้มากมายตามที่เราชอบ
-เพิ่มจุดรับชมง่ายและมีค่าใช้จ่ายตํ่ากว่า


ข้อด้อย
-จานมีขนาดใหญ่ 
-ใช้พื้นที่ติดตั้งมากพอสมควร
-การติดตั้งและการปรับแต่งเครื่องรับ ต้องมีความรู้บ้าง

เพิ่มเติม
จานแบบ C-Band ถ้านำหัวรับแบบ Ku-band มาติดตั้ง สามารถรับสัญญาณในแบบ Ku-band ได้

21 ม.ค. 2555

จานดาวเทียมเล็กใหญ่ต่างกันอย่างไร


โทรทัศน์ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็น ที่ทุกๆบ้านจะต้องมีไปแล้วในปัจจุบัน เพราะว่าโทรทัศน์นำความสุขมาให้ทุกคนที่ได้รับชม ไม่ว่าจะเป็นการชมเพื่อรับ ข่าวสาร ดูหนังดูละคร ดูเกมส์โชว์ เรียนผ่านโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ถ่ายทอดสดกีฬาต่างๆ  ดูการแสดงต่างๆ เรียกว่ามีเรื่องต่างๆมากมายที่เราจะเรียนรู้จากโทรทัศน์มากมาย ดังนั้นการที่มีเวลาดูทีวีจะเป็นเวลาที่ดีๆ สำหรับทุกคน 

การที่มีโทรทัศน์ที่ดีแล้ว เวลาจะรับชมเชื่อว่าทุกคนก็อยากได้ชมรายการที่ภาพคมชัด เสียงใส ซึ่งในอดีตการรับสัญญาณโทรทัศน์เราจะรับจากทางเสาอากาศกันแทบจะทั้งหมด ทำให้ภาพที่ได้แต่ละพื้นที่จึงมีคุณภาพต่างๆกันไป ตามระยะทางของที่ตั้งเครื่องรับโทรทัศน์กับสถานีส่ง หรืออาจจะมีปัญหากับ สัญญานรบกวนต่างๆ ทำให้มีปัญหาในการรับชม เช่น
ภาพไม่ชัด ภาพซ่า  ภาพล้ม ภาพเป็นเงาซ้อน เป็นต้น อาการเหล่านี้เป็นปัญหาที่เกิดจากสัญญาน โทรทัศน์ทั้งสิ้น ซึ่งเกิดจากการส่งสัญญานโทรทัศน์แบบการส่งจากภาคพื้นดิน ซึ่งการแก้ไขปัญหาในแต่ละแบบก็ต้องใช้วิธีที่ต่างๆกันไป ซึ่งเป็นการยากสำหรับผู้ใช้งานแบบปกติทั่งไปอย่างเราๆจะแก้ไขปัญหากันได้ ก็ได้แต่ทนดูกันไปอย่างนั้น

และก็เป็นโชคดีของเราๆ ท่านๆ ชาวไทย เมื่อประเทศไทยของเรา ได้มีการส่งดาวเทียม ไทยคม1 ขึ้นไปบนฟ้า (ปัจจุบันมีถึงไทยคม5)  เพื่อทำหน้าที่เป็นดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมไทยคม1 ได้ทำการส่งสัญญาน มากมายหลายชนิดมาสู่พื้นที่ประเทศไทย ในนั้นก็มีสัญญานโทรทัศน์ด้วย ทำให้พวกเราได้มีโอกาศรับชมโทรทัศน์แบบชัดๆกันซักที

ในช่วงแรกๆ การที่จะได้มีจานดาวเทียมใช้กันซักใบนั้นเป็นเรื่องไม่ง่ายเลย เพราะว่าราคาสูงมาก เนื่องจากเครื่องรับสัญญานดาวเทียมแต่ละเครื่องจะต้องผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มงวด จากกรมวิทยุไปรษณีย์ เพื่อตรวจสอบเกียวกับย่านการรับสัญญานต่างๆ ว่าจะต้องไม่สามารถรับคลื่นต่างๆของทางราชการ หรือแทรกแทรงคลื่นของทางราชการได้ ต้องมีการติดใบอณุญาติกันทุกเครื่อง  แต่ปัจจุบันขั้นตอนเหล่านี้ได้ยกเลิกไปแล้ว และในอดีตการที่จะติดตั้งจานดาวเทียมต้องนำเข้าจานดาวเทียมตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆจากต่างประเทศ ช่างที่ติดตั้งก็หายากมาก ช่างสมัยก่อนทีมๆหนึ่งต้องเดินทางกันเป็นว่าเล่น 
วันนี้ติดเมืองไทย อีกวันไปติดมาเลเซียเป็นต้น การติดตั้งจานดาวเทียมสมัยก่อนราคาจึงสูงมาก


ในปัจจุบันการติดตั้งจานดาวเทียม ค่าใช้จ่ายได้ลดลงมามากแล้ว เนื่องจากตัวจานดาวเทียม ประเทศไทยสามารถผลิตเองได้แล้ว เครื่องรับก็มีทั้งที่ผลิตเอง จนถึงนำเข้า  เทคนิคเกียวกับการติดตั้งง่ายลงมามาก ช่างติดตั้งก็มีมากพอสมควร ทางผู้ชมเอง
หลังจากที่ได้รับชมสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอง ก็ถูกใจ เนื่องจากภาพที่ชัด และรายการที่หลากหลายกว่าแบบรับจากเสาอากาศ  
(ในบางพื้นที่การติดเสาอากาศราคาก็พอๆกับติดจานดาวเทียม) ทำให้ทุกบ้านตอนนี้เลือกที่จะติดจานดาวเทียมมากกว่าติดเสาอากาศ

ทำให้มีผู้ประกอบการออกมาผลิตจานรับสัญญาณดาวเทียมขายกันหลายเจ้า โดยถ้าดูจากแบบจาน ก็จะมี2แบบคือ

1.จานแบบตะแกงขนาดใหญ่ (C-Band)  ส่วนมากจะพ่น สีดำ 
2.จานแบบทึบ ไม่มีรู ขนาดเล็ก (Ku-Band)  สีแดง สีฟ้า สีส้ม สีเหลือง สีเทา เป็นต้น


แล้ว จานดำ จานแดง จานฟ้า จานส้ม จานเหลือง เลือกแบบไหนดี