23 ม.ค. 2555

จานรับสัญญาณดาวเทียมแบบ Ku-Band (จานเล็ก)



จานรับสัญญาณดาวเทียมแบบ Ku-Band (จานเล็ก)

จานแบบนี้จะมีขนาดเล็ก ประมาณ 75 เซนติเมตร จนเล็กถึง 30 เซนติเมตร ก็เคยมีออกมาขายกัน หน้าจานจะทำจากอลูมิเนียม พ่นสี  จานแบบนี้จะออกแบบมารับคลื่นสัญญาณแบบ Ku-band (ความถี่ 10-12 Ghz)

สัญญาณในแบบ Ku-Band จะมีความถี่ที่สูงมาก ดังนั้นการส่งสัญญาณจากดาวเทียม ลงมายังพื้นโลกจะไม่กว้างมากเหมือนแบบ C-band การส่งสัญญาณ จะทำการส่งใหคลุมประเทศไทย ให้ครบในทุกส่วนแต่ก็มีบ้างที่อาจจะออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านบางส่วน สัญญาณKu-Band เป็นสัญญาณที่มีความถี่สูง จึงทำให้เวลาที่เรารับสัญญาณไม่ต้องใช้หน้าจาน ขนาดใหญ่มากเหมือนระบบ C-Band  จุดที่ดาวเทียมส่งสัญญาณ Ku-Band มาเข้มมากๆ จะสามารถใช้จานที่มีขนาดเล็กลงมาได้ มีบางคนเคยเอากระทะทอดไข่มารับสัญญาณกันได้เลยทีเดียว

จาน Ku-Band แบบนี้ช่วงแรกจะมีอยู่สีเดียวคือสีเทา ซึ่งในช่วงแรกจะเป็นจานของระบบทีวี บอกรับสมาชิก (UBC) และอีกแบบคือจานแบบขายขาด ของ บริษัทสามารถ ซึ่งก็ต้องมี สมาร์ทการ์ดของ UBC ใช้ประกอป ด้วยจึงจะสามารถรับรายการโทรทัศนืแบบฟรีทีวีได้ เนื่องจากจานชุดนี้ต้องรับสัญญาณจากการส่งของทาง UBC


จนมาช่วงปี 2007 การแข่งขันของจานแบบจานเล็กก็เริ่มขึ้น จากการที่บริษัท สามารถ ได้ออกจานฟ้า ออกมาโดยเลิกใช้สัญญาณ ของUBC แล้วผลิกรายการเอง ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเอง จุดขายช่วงนั้นคือ ดูฟรีไม่มีรายเดือน มีหนัง มีกีฬาสด ให้ดูฟรี แต่ในอนาคตยังไม่แน่นอนว่าจะฟรีหรือไม่ ซึ่งช่วงนั้นใครที่จะติดจานก็เลือกแค่ 2แบบนี้เอง จานเทา UBC หรือจานฟ้า สามารถ

จนผ่านมาอีกระยะ การติดตั้งจานดาวเทียมได้รับความนิยมอย่างมาก ก็ทำให้มีผู้ประกอบการที่อยากลงมา ทำตลาดจานดาวเทียมเพิ่มขึ้น โดยลงมาเป็นจานส้ม ผลิตรายการ ของตัวเองขึ้นมา แล้วส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม Nss6 มาสู่ตลาดอีกเจ้า แล้วก็มาถึงจานเหลืองจานที่เน้นจุดขายเรื่องราคาถูกเป็นจุดนำ ในราคาที่คู่แข่งต้องเกาหัวแล้วต้องกลับไปปรับกลยุทธกันใหม่อีกครั้ง

แล้วก็มาถึงจานแดง จานที่เกิดจากการต้องการเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้โดดเด่นจากการเปลี่ยน บริษัทผู้ที่เคยเป็นทีวีบอกรับสมาชิก เจ้าใหญ่ UBC มาเป็น True Vision การเข้ามาของจานแดง เป็นการสะเทือนวงการจานดาวเทียมอย่างมาก เนื่องจากเข้ามาแบบแจกฟรี เพียงขอให้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ True Move จากวันนั้นจานเทา ก็ได้หายไปเรื่อยๆ เป้นจานแดงแทน

แล้วเจ้าล่าสุด ก็คือ Psi บริษัทที่บุกเบิกจานดำ C-band ก็เอาจานเล็กแบบ Ku-band สีดำลงมาอีกเจ้าโดยทำรายการเอง ส่งเอง พร้อมกับคำขวัญ ยอดฮิต ดูฟรีตลอดชาติ มาให้ได้เลือกกันอีกเจ้า


ที่นี้ก็น่าพอจะทราบที่มาของจานแต่ละสีกันบ้างแล้ว ว่าทำไมมันหลากสีกันเหลือเกิน


ข้อดีข้อด้อยของ จานเล็ก Ku-band

ข้อดี

-ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย
-ขนาดเล็กติดตั้งแล้วดูสวยงาม
-ติดตั้งง่าย ไม่ต้องมีความรู้มาก ก้พอที่จะติดตั้งได้
-สามารถนำไปดูที่ไหนก็ได้ เนื่องจากจานมีขนาดเล็ก ทำให้ไม่พลาดรายการที่ติดตามชม

ข้อด้อย

-ฝนตก เมฆหนา ดูไม่ได้ เตรียมปิดเครื่องอย่างเดียว
-ถ้าตัดสินใจใช้เครื่องของ ค่ายไหนแล้ว ต้องดุรายการของค่ายนั้น เปลี่ยนค่ายก้ต้องเปลี่ยนเครื่องรับ
-มีปัญหาจุกจิก กับการที่มีการล็อกสัญญาณ เป็นบางครั้ง ถ้าดุช่วงดึกๆ คืนนั้นอาจต้องนอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น